วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
            
          คอมพิวเตอร์  คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผลชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณ เรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย 


         ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผลโดยขนาดคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสามหรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยใน การตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์


ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการใช้งาน


  1. คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ (General-purpose Computers)
  2. หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ ได้จำนวนมาก และใช้งานได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านทหารอากาศ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในทางธุรกิจ เช่น งานบัญชีเงินเดือน,ทำภาษี,คิดโบนัส,คิดค่าประกันสังคม,การประมวลผลคำ, การสำรองที่นั่ง เป็นต้น
  3. คอมพิวเตอร์ใช้งานเฉพาะด้าน(Special-purposeComputers)                                                หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด วัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะโปรแกรม หรือ คำสั่งก็จะใช้เฉพาะเรื่องเท่านั้น เช่น ใช้ในการควบคุมการบิน ใช้ในการควบคุมยานอวกาศ ใช้ในการควบคุมการเดินเรือ หรือหุ่นยนต์ เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น